วันที่ 19 ก.พ. จากกรณีที่เพจ “Dislike Yingluck For
Concentration Citizen” ซึ่งเป็นเพจในเฟซบุ๊กที่มีท่าทีต่อต้านรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร โพสต์ข้อความอ้างว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
ถูกจัดอันดับให้เป็น ผู้นำที่ดีที่สุด อันดับ 4 ของโลก
โดยนิตยสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) เจ้าของเดียวกับหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์นั้น
จากการตรวจสอบข้อมูลของผู้สื่อข่าวพบว่าบทความต้นฉบับที่ฟอเรนจ์โพลิซี
พูดถึงนายอภิสิทธิ์นั้น จริงๆแล้ว เป็นบทความชื่อ “The List: Five
Governments That Deserve to Fail” หรือแปลว่า “รายชื่อ 5 รัฐบาลที่สมควรล้มเหลว” เผยแพร่ในเว็บไซต์มาตั้งแต่ปี 2552 โดยบทความพูดถึง 5 รัฐบาลทั่วโลกที่มีพฤติกรรมต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
หรือไม่ก็กระทำสิ่งที่ลดความเชื่อมั่นของประชาชนในชาติ ประกอบด้วย รัฐบาลของประเทศจอร์เจีย เนปาล รัสเซีย เยอรมนี
และรัฐบาลไทยสมัยนายอภิสิทธิ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับที่เพจ Dislike Yingluck ได้กล่าวอ้าง
สำหรับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์นั้น บทความชิ้นนี้บรรยายคุณสมบัติว่า “Politicking when he should be governing. Aiding the poor
through the downturn should be a bigger priority than scrapping with rivals.” แปลว่า “เอาแต่เล่นการเมืองทั้งที่สมควรจะเอาเวลาไปบริหารประเทศ
ซึ่งนายอภิสิทธิ์ควรช่วยเหลือคนจน แทนที่จะประดาบกับฝ่ายตรงข้ามตลอดเวลา”
นอกจากนี้ บทความดังกล่าวยังระบุว่า
รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในกทม.เมื่อเดือนเม.ย.
ปี 2552
ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และก่อนหน้านี้ รัฐบาลต้องถูกกดดันจากผู้ชุมนุม
จนยกเลิกการประชุมอาเซียนที่จ.ชลบุรี ซึ่งทำให้นายอภิสิทธิ์เสียหน้า
------------
ลิงก์เพจ: http://www.facebook.com/photo.php?fbid=430551277022138&set=a.177730088970926.44730.177571372320131&type=1&relevant_count=1
ลิงก์บทความ:http://www.foreignpolicy.com/articles/2009/04/15/the_list_five_governments_that_deserve_to_fail
เนื้อหาต้นฉบับมีดังนี้
The
leader: Prime Minister Abhisit Vejjajiva
Why
he′s got to go: Politicking when he
should be governing. Aiding the poor through the downturn should be a bigger
priority than scrapping with rivals.
The
story: Thailand has been in a state of political turmoil since 2006, when a
military coup ousted then Prime Minister Thaksin Shinawatra. Ever since,
Thaksin, a wealthy businessman with strongly populist tendencies, has continued
to broadcast potent political messages to his supporters in the country.
For
the past month or so, up to 100,000 "red shirt" protesters who
support Thaksin have rallied against Abhisit and periodically forced Bangkok to
shut down. This month, protesters forced the government to call off a summit of
leaders from the ASEAN trade bloc -- a tremendous embarrassment for Abhisit --
and provoked a military response that left two dead.
In
all likelihood, Thaksin′s Keynesian economic policies
would benefit Thailand more than Abhisit′s. But regardless of which man seizes power, one thing is certain:
Their perpetual infighting has severely harmed the country. An Asian
Development Bank economist said political turmoil may cause the economy to
contract 5 percent this year, revising his estimate from 2 percent. If neither
of the two men can gain control and provide peace, at least they should find a
way to protect the Thai economy instead of driving away foreign investment,
tourism, and assistance.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น