จากเหตุการณ์ ดังกล่าว นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำแนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดินใน ฐานะโฆษก เครือข่ายภาคีประชาชน กล่าวว่าจะรวบรวมรายชื่อประชาชน ให้ได้ 5ล้านรายชื่อ โดยจะนำรายชื่อดังกล่าวส่งไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และตุลาการศาลโลก
นาย ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กล่าวต่อว่า "จะปักหลักอยุ่ที่สนามหลวงจนกว่ารัฐบาลและรัฐสภาจะออกจากการทำหน้าที่ เมื่อไรที่รัฐบาลและรัฐสภาออก จากการท่าหน้าที่เมื่อใด พวกตนก็จะเดินทางกลับเมื่อนั้น"
ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงค กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์
ซึ่งในปี พ.ศ. 2554 กทม. ได้ออกกฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้สนาม เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางการเมืองใด เพื่อสงวนไว้สำหรับประกอบพระราชพิธีเท่านั้น
- ข้อห้ามในการใช้พื้นที่ อาทิ ห้ามขายหรือจำหน่ายสินค้า หรือให้เช่าหรือบริการใดๆ ทุกชนิด ห้ามนอน หรือประกอบกิจการนวด ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ห้ามถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ห้ามอาบน้ำหรือซักล้างสิ่งใดๆ
- ห้ามขูด กะเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏซึ่งข้อความหรือรูปรอยใดๆ บนรั้วกำแพง ต้นไม้หรือสิ่งค้ำยันต้นไม้ หรือทรัพย์สินของทางราชการ ห้ามโค่นต้นไม้ ตัด เด็ด หรือทำให้เกิด ความเสียหาย
- ห้ามปีนป่าย นั่ง หรือขึ้นไปบนรั้ว กำแพง ต้นไม้หรือสิ่งค้ำยันต้นไม้ ห้ามเล่นฟุตบอล ตะกร้อ หรือจัดการแข่งขันกีฬาใดๆ ยกเว้นได้รับอนุญาต
- ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด ห้ามดื่มสุรา น้ำเมา หรือใช้สารเสพติด ห้ามจอดรถทุกชนิด พร้อมขอความร่วมมือ ให้ช่วยในการรักษาความสะอาดไม่ทิ้งขยะลงพื้น หากพบผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ในกรณีที่ไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ต้องบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะจำนวน 100 ชิ้น แทนการเสียค่าปรับ ซึ่งมีพระราชบัญญัติโบราณสถานคุ้มครอง และกำหนดโทษผู้ใดฝ่าฝืนหรือบุกรุกมีโทษจำคุก 10ปี หรือปรับเป็นเงิน 1ล้านบาท โดยทางกทม.ได้จัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัย ในพื้นที่ท้องสนามหลวงโดย มีเจ้าหน้าที่ เทศกิจประจำการ 60คน ปฏิบัติงานตลอด 24ชั่วโมง ผลัดละ 3 รอบ รอบละ 20 คน ประจำจุดสังเกตุความเคลื่อนไหวจากกล้อง cctv 42ตัว ครอบคลุมทั่วสนามหลวง และมีหน่วยจักรยานยนต์สังเกตุการณ์ทุกชั่วโมง
แต่อย่างไรก็ตามทางด้านนักวิชาการกลับออกมาคัดค้านการกระทำของกทม.ดังกล่าว นักวิชาการยก "สนามหลวง" เป็นสนามรบต่อสู้เชิงอุดมการณ์ เปรียบเสมือนห้องเรียนการเมือง ภาคประชาชน ชี้เป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ควรทำอะไรตามอำเภอใจ ด้านนายสุวพร เจิมรังสี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพระนครกล่าวว่า "ที่ผ่านมาหลักเกณฑ์การขอ ใช้พื้นที่สนามหลวง หละหลวมมาก ใครจะเข้ามาจัดงานอะไรก็ทำได้ง่ายๆ แต่หลักเกณฑ์ใหม่จะ มีความเข้มงวด มากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและคงคุณค่าความเป็นมรดก ทางวัฒนธรรม ชาติ เนื่องจากสนามหลวงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ซึ่งมีกฎหมาย คุ้มครองดูแล ไม่ให้สนามหลวงมีสภาพเละเทะอีกต่อไป" รศ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการ ปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังกล่าวอีกว่า “สนามหลวงเป็นสมบัติของประเทศชาติ เป็นขุมทรัพย์แห่งความรู้ทางการเมืองของคนไทย ไม่ใช่เป็นสมบัติของ กทม. ซึ่งควรจะพิจารณาหลักเกณฑ์การขอใช้พื้นที่สนามหลวง ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ใช่ร่าง ระเบียบเพื่อกลั่นแกล้งกัน”
จากการที่ กลุ่มผู้ชุมนุม ได้มาปักหลักที่ท้องสนามหลวง โดยไม่ได้ขออนุญาตจากสำนักงานเขต พระนคร ซึ่งผิดต่อกฎหมาย ข้อห้ามในการใช้สนามหลวงในการชุมนุม ซึ่งทำให้ประชาชนส่วน ใหญ่ ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการกระทำของ กทม..กันหนาหู ทางรองผู้ว่าฯ กทม. พล.ต.อ อัศวิน ขวัญเมือง ได้เดินทางมายังสนามหลวง เพื่อต้องการการ ให้กลุ่มผู้ชุมนุมย้ายออกจากพื้นที่ ก่อนวันที่ 13 พฤษาคม เพราะต้องใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นาย ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กล่าวต่อ จะปักหลักอยุ่ที่สนามหลวงจนกว่ารัฐบาลและรัฐสภาจะออก จากการทำหน้าที่ เมื่อไรที่รัฐบาลและรัฐสภาออก จากการท่าหน้าที่เมื่อใด พวกตนก็จะเดินทางกลับเมื่อนั้น
(สนามหลวงเป็นสถานที่ ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นสมบัติของชาติ และเป็นของประชาชนทั่วไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น