ทั้งนี้ คนในพรรคประชาธิปัตย์วิจารณ์กันอย่างหนาหูว่า ผลที่ปรากฏออกมาเป็นเพราะ "การเมืองในพรรค" ระหว่างเลขาพรรคคนเก่าคือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับเลขาพรรคคนปัจจุบัน คือนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่ไม่ลงรอยกันอย่างหนัก กลายเป็นว่านายสุเทพ ต้องการจะขัดทุกอย่าง ที่เลขาพรรคคนปัจจุบันทำ ทั้งๆที่นายสุเทพ เองก็รู้ดีว่าถ้าพรรคส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ลงสมัคร พรรคจะต้องมีความยากลำบากมาก และมีโอกาสสอบตก แต่นายสุเทพ กลับพยายามล็อบบี้คนในคณะกรรมการบริหารพรรคให้เลือกสุขุมพันธุ์ เพราะนายเฉลิมชัย ไม่ต้องการให้พรรคส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุุ์ ลง
ที่ประชุมได้มีการพูดคุยถึงจุดอ่อนของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีบาดแผลเยอะ และมีรอยช้ำ โดยเฉพาะคดีการต่อสัญญาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่เห็นว่า ไม่ว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะได้ลงสมัครหรือไม่ได้ลงสมัคร ก็ต้องต่อสู้คดีนี้อยู่แล้ว เพราะเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยคงจะเล่นคดีนี้ถึงที่สุด แต่ก็ยังเกรงว่าในช่วงหาเสียงจะกลายเป็นว่าอีกฝ่ายหาเสียงไป แต่สุขุมพันธุ์ต้องคอยชี้แจงข้อกล่าวหาไป แต่เมื่อผลโหวตออกมาอย่างนี้ ก็ไม่มีทางเลือก ก็ต้องเดินหน้าต่อไป นอกจากนี้ในที่ประชุมมีการแสดงความกังวลกันมากว่าที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ทำงานแบบศิลปินเดี่ยว โดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเป็นการทำงานคนเดียวโดยไม่ฟังเสียงพรรค
อย่างไรก็ตาม คนในพรรคประชาธิปัตย์บางคนมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนายกรณ์ ไม่แสดงจุดยืนให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะลงสมัคร โดยที่ผ่านมาไม่พูดให้ชัดเจน และแสดงท่าทีว่าจะไม่ลงสมัคร หากกล้าตัดสินใจเสนอตัวเป็นแคนดิเดตตั้งแต่ช่วงแรกอาจจะไม่มีปัญหาเช่นนี้
แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า "การเมืองภายในพรรคจะทำให้พรรคตกต่ำ แม้คุณสุขุมพันธุ์ จะรับปากว่าจะเปลี่ยนตัวเองใหม่จากที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยประสานพรรคในการทำงาน แต่ผมเกรงว่าจะไม่มีโอกาสนั้น เพราะอาจจะแพ้เลือกตั้งเสียก่อน เท่าที่เราประเมินกัน ถ้าพรรคส่งกรณ์ลงแข่ง ก็จะง่ายกว่า เพราะสุขุมพันธุ์มีแผลเยอะมาก แต่ก็คงทำอะไรไม่ได้แล้ว"
รวมทั้ง การแย่ง "ชิ้นปลามัน" งบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรุงเทพมหานคร ที่เฉียด 6 หมื่นล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น