วันที่ 7 ธันวาคม 2555 (go6TV) พรรคเพื่อไทยอาจต้องตั้งรับ
นับแต่วันแรกของการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ 21 ธ.ค. 2555
เป็นต้นไป
ตั้งรับกับคดีที่ถูกร้องตั้งแต่หลังเลือกตั้ง
คดีที่ต่อเนื่องจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
คดีของคนเสื้อแดงที่แปลงกายมาเป็นสมาชิกพรรค-ส.ส. และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย
ทั้งคดีที่พรรคเพื่อไทยใช้สโลแกนหาเสียง "ทักษิณคิด
เพื่อไทยทำ"
เข้าข่ายยินยอมให้บุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามาดำเนินกิจการพรรคการเมือง
มีความผิดฐานที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ"
ในเวลานั้นเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แต่มีส่วนคิดค้นนโยบาย
เสมือนหนึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค
ทั้งคดีที่พรรคเพื่อไทยช่วยเหลือส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของคนเสื้อแดง
เข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ
ทุกคดีล้วนพุ่งตรงไปสู่กระบวนการวินิจฉัยขั้นชี้ขาดที่องค์กรอิสระแทบทั้งสิ้น
เมื่อในสายตาพรรคเพื่อไทยมององค์กรอิสระยุคปัจจุบันเป็นศัตรูคู่แค้น
เป็นเครื่องมือกลไกอำมาตย์ที่ใช้ทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร-ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย
เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลโอกาสรอดเงื้อมมือตุลาการภิวัตน์จึงมีแค่ 50-50
ดังนั้น การประชุมของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล
ที่ประกอบด้วยแกนนำพรรครัฐบาล 5 พรรคการเมือง
ที่ล้อมวงหาทางออกการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ร่างแก้ไขยังคาอยู่ในวาระ 3
เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญแนะนำให้ชะลอการเดินหน้าโหวต
แล้วให้ทำประชามติถามประชาชนก่อนนั้น
บัดนี้ คณะทำงานชุด 11 คน ได้นำรายงานฉบับ Final Report อันมีเสียงของนักวิชาการทุกขั้ว
ทุกสี มาบันทึกเป็นความเห็นลงในรายงานไปศึกษา
โฟกัสไปยังความเห็นของนักวิชาการทั้ง 5 คน และคณะที่ติดตามมาให้ข้อมูล
ปรากฏว่านักวิชาการทั้ง 4 คน
เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรเดินหน้าต่อโดยไม่ต้องฟังคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ
มีเพียง "สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" จาก "นิด้า"
เท่านั้นที่มีความเห็นว่าต้องทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน
โดยไม่ระบุวิธีการว่าจะทำความเข้าใจแก่ประชาชนอย่างไร
ดังนั้น การเดินหน้ารัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย
และพรรคร่วมรัฐบาลในการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 21 พ.ย.
2555 อาจมีแนวโน้ม ดังนี้
1.เลื่อนวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
ตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนว่า เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 2 แล้ว ให้ทิ้งไว้ 15
วัน เมื่อพ้น 15 วันจะต้องกลับมาลงมติในวาระ 3
2.ให้ ส.ส.และ ส.ว.ลงมติผ่านรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในช่วงต้นเดือนมีนาคม
2556
3.กลางมีนาคมเลือกตั้ง ส.ส.ร. จากนั้นมิถุนายน 2556 ได้ ส.ส.ร. ภายใน
กรกฏาคม 2556 ได้ประธาน ส.ส.ร.
4.เข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 8 เดือน
คาดว่าจะได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อทำประชามติประมาณมีนาคม 2557 ใช้เวลา 2 เดือน
5.นำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทูลเกล้าฯหากไม่มีอุบัติเหตุการเมือง
คนไทยจะได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ประมาณมิถุนายน 2557
โดยประเด็นที่เป็นขวากหนามในการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย
จะถูกผลักดันกลายเป็นวาระสังคมผ่านสื่อสาธารณะ เวทีเสวนาทั่วประเทศ
ที่มา-อำนาจขององค์กรอิสระ เช่น
ศาลรัฐธรรมนูญ-ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน-คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจถูกลดทอน
มาตราที่เป็นมรดกจากการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 อย่างมาตรา 309
จะถูกกำจัดทิ้งเพื่อเปิดทางให้กระบวนการปรองดองที่จะขับเคลื่อนต่อจากเกมรัฐธรรมนูญ
แนวโน้มการประจันหน้าระหว่างพรรคเพื่อไทย-องค์กรอิสระ-ตุลาการในปี
2556 ถูก "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
วิเคราะห์แนวโน้มการต่อสู้ใน 6 ข้อกล่าวหา "ทุจริตเชิงนโยบาย"
ที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องไว้ รวมถึงคดีอื่น ๆ ใน "บัญชีแค้น"
ของพรรคฝ่ายค้านที่เตรียมยื่นเป็นระลอกว่า "ไม่กังวลหรอกครับ
ส่วนใหญ่เมื่อเป็นพรรคการเมือง มีการเสนอนโยบายต่อประชาชนเลือก
เมื่อโดนใจประชาชนส่วนใหญ่เขาก็จะเลือกเรามาบริหารประเทศ
ทำให้เรามีที่นั่งในสภาสูงที่สุด
ดังนั้น ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารก็จะทำตามนโยบายที่กำหนดไว้
คือ นโยบายพรรค เช่น จำนำข้าว เข้ามาก็ทำ ถามว่านโยบายดีหรือไม่
ดีไม่ดีอยู่ที่ประชาชนตัดสิน ถ้าไม่ดีเขาก็ไม่เลือก ถ้าคุณบอกว่าดีกว่า
ประชาชนคงไม่เลือกพรรคเรา แต่ตอนนี้เวลานี้พิสูจน์ชัดว่า
นโยบายของเราประชาชนส่วนใหญ่ตามระบอบประชาธิปไตยบอกว่าดี และให้ทำ"
"ถามว่าวันนี้ไม่มีใครตีเรื่องนโยบายไม่ดี
ไม่มีใครตีเรื่องระบบระเบียบ หรือมีช่องโหว่ แต่มีบ้างนิดหน่อยในขั้นที่ 3
คือขั้นปฏิบัติจริง เกี่ยวข้องกับคนมากหลาย เช่น นโยบายจำนำข้าว
ต้องเกี่ยวข้องกับโรงสี เกี่ยวข้องกับคนส่งออก เกษตรกร
มีปัจจัยละเอียดอ่อนหลายอย่าง อาจจะทุจริต ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจให้มีทุจริต
นายกฯก็กำชับ ตำรวจไปตรวจเช็ก กระทรวงพาณิชย์ทำงานหนัก
ผู้ว่าฯทุกจังหวัดทำงานร่วมกัน"
"ถามว่ามีการทุจริตไหม...มี แต่มันเป็นส่วนน้อยไม่ใช่ส่วนมาก
ไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่ไม่มีการทุจริตร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่ไม่ใช่รัฐบาลจะยอมรับการทุจริต"
"การต่อสู้กับองค์กรอิสระเราเองก็มีประสบการณ์
โดยเฉพาะองค์กรอิสระที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550 มีการเขียนคุณสมบัติ วิธีการคัดสรร
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ซึ่งองค์กรอิสระ เห็นชัดเจน
มีพฤติกรรมไม่เป็นมาตรฐานที่ควรเป็น"
"ส่วนกระบวนการยุติธรรมที่มาจากศาล หากศาลได้อำนวยการยุติธรรมอย่างแท้จริงถ่องแท้
ปัญหาก็ไม่เกิด แต่ถ้าที่ใดก็แล้วแต่ไม่มีความเป็นธรรม"
เขาอ้างถึง พระราชดำรัส ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 เคยประพันธ์ไว้ว่า
"ถ้าบ้านเมืองใดไร้ธรรมอำไพ เมืองนั้นจัญไรแน่นอน" ก็ต้องจำใส่เกล้า
ใส่หัวตัวเองไว้ว่า บ้านเมืองนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรมจะเกิดความวิบัติเกิดขึ้น
ถ้าหากการตัดสินบิดเบี้ยวมันก็เกิดปัญหาตามมาในที่สุดได้" จารุพงศ์กล่าว
ขอขอบคุณประชาชาติธุรกิจ