หมายเหตุ : นายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย และส.ส.
บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย แสดงความเห็นกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัย์ ประกาศล้มประชามติ หรือคว่ำประชามติ
โดยอ้างว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นน้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังจะทำเพื่อรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
หวังลบมาตรา ๓๐๙ เพื่อล้มคดีทั้งหลายของพี่ชาย มีเนื้อหาดังนี้
๑) การจัดทำประชามติ
จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ว่า “เรื่องที่ขอประชามติเป็นกิจการในเรื่องที่อาจกระทบถึงประโยชน์
ได้เสียของประเทศชาติ หรือประชาชน เท่านั้น” และประการสำคัญกฎหมายกำหนดให้มีการตั้ง
“ชื่อเรื่องที่จะทำประชามติ” ซึ่งชื่อเรื่องจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนพอที่จะให้
ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเข้าใจ เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาล
โดยนายกรัฐมนตรี หรือ กกต. จะไปกำหนดชื่อเรื่องในการจัดทำประชามติว่า
เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๙ เพื่อล้มคดี พ.ต.ท.ทักษิณฯ
หรือไม่เพราะจะผิดเจตนารมณ์แห่งกฎหมายในการออกเสียง
ซึ่งกฎหมายประชามติให้อำนาจประชาชนมีสิทธิ์ออกเสียง ไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
เพื่อให้มีคำวินิจฉัย ล้มประชามติได้
นายอภิสิทธิ์ฯ
ไม่ควรมาบิดเบือน รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประชามติ และเป็นการออกตัวเร็วเกินไป
เพราะขั้นตอนกฎหมายยังไม่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทำให้เข้าใจ นายอภิสิทธิ์ฯ
ในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ฯต้องตกเป็นผู้ต้องหาแก้คดีอาญาร้ายแรงมีหลักคิดอย่างไร
และหากนายอภิสิทธิ์ฯเห็นว่าเรื่องใดที่รัฐบาลหรือ กกต.
ดำเนินการตามกฎหมายไม่ถูกต้องหากเคารพใน “หลักนิติรัฐ”
จริงตามที่นายอภิสิทธิ์ฯ เคยอ้างตลอดเวลา นายอภิสิทธิ์ฯ
ต้องมีเจตนาสุจริต และใช้สิทธิตามกฎหมาย
โดยยื่นศาลปกครองสูงสุดเพื่อล้มประชามติไม่ใช่การแสดงออกเช่นนี้
เพราะนายอภิสิทธิ์ฯจะทำให้ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นพรรคเก่าแก่
จะไม่มีความเป็นพรรคการเมืองอีกต่อไป การประกาศคว่ำหรือล้มประชามติ โดยทางอื่นนอกจากการใช้สิทธิทางศาลปกครองสูงสุด
ฝ่ายกฎหมายพรรคจะตรวจสอบ
และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปว่าเข้าข่ายกระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายหรือไม่
๒)
อยากตั้งคำถามกลับนายอภิสิทธิ์ฯ และพรรคประชาธิปัตย์กลับว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐๙
ที่นายอภิสิทธิ์ฯ และพรรคประชาธิปัตย์พยายามรักษาไว้มีบทบัญญัติว่า “บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อน
หรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้น
และการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้” เป็นการที่นายอภิสิทธิ์ฯ
และพรรคประชาธิปัตย์ จะรักษาผลพวงของการรัฐประหารจนตลอดชีวิตของ นายอภิสิทธิ์ฯ
ใช่หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้นถามอีกว่า การคงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐๙
ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นหลักสากลหรือหลักนิติธรรม หรือไม่
การจัดให้ประชาชน
ลงประชามติว่าต้องการได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ ถือเป็น “การให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย”
เป็น ผู้ตัดสินใจโดยตรง ถือเป็นทางเลือกที่ให้เสียงของประชาชน “เป็นข้อยุติ” ดังนั้นประชาชนทั้งประเทศสามารถ แสดงออกถึงความเป็นเจ้าของอำนาจของตน
ได้โดยวิธีการ ออกมาร่วมกันทำประชามติ ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การทำประชามติจะทำได้ต่อเมื่อ “เรื่องนั้นถือเป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชนทั้งมวล”
มิใช่เรื่องประโยชน์ได้เสียของรัฐบาล หรือคนใดคนหนึ่งที่จะได้รับประโยชน์
รัฐธรรมนูญ และกฎหมายไม่ให้อำนาจที่รัฐบาลหรือใครจะกระทำเช่นที่
นายอภิสิทธิ์กล่าวหา เพราะรัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ถึงการใช้อำนาจ
อธิปไตยของปวงชนชาวไทย
ขอยืนยันว่าไม่มีใครได้รับประโยชน์นอกจากประชาชนเท่านั้น