วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 (go6TV) ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่กรุงพนมเปญ
กัมพูชา วันที่ 17-20
พ.ย.ว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 พ.ย. ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน
ซึ่งเป็นวันที่ 2 ที่
สำนักงานนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Peace Palace) นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน
-ญี่ปุ่น ร่วมกับผู้นำจากประเทศอาเซียนและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
เกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกัน โดยในที่ประชุมฯ
นายกรัฐมนตรีได้เสนอประเด็นความร่วมมือสำคัญสำหรับอาเซียนและญี่ปุ่น
โดยขอให้อาเซียนและญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ต่อความร่วมมือ ด้านความเชื่อมโยง
ซึ่งอาเซียนกำลังเร่งพัฒนาการเชื่อมโยงทั้งในภูมิภาคและเชื่อต่อไปยังกรอบอาเซียน +
3
ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการรวมกลุ่มภูมิภาคที่ก่อให้เกิดพลวัตรทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในภาพรวม
ทั้งนี้
ญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการเชื่อมโยงดังกล่าว และในฐานะนักลงทุนสำคัญในภูมิภาค
และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการตามแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน
ด้วยเทคโนโลยีของญี่ปุ่น เงินทุน
และประสบการณ์จะช่วยขับเคลื่อนโครงการสาธารณูปโภคต่างๆที่เชื่อมโยงอาเซียน
รวมทั้งโครงการเสริมภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-อาเซียน ไทยมีความพร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับญี่ปุ่น
และพร้อมลส่งเสริมเงินทุนเพื่อการพัฒนาจำนวน
77
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซึ่งมาตรการต่างๆนั้นรวมถึง การพัฒนาระบบภาษีตามเขตชายแดน
ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมการค้าตามแนวชายแดน ลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์
และการจัดตั้ง ASEAN Single Window ด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ขณะนี้ศูนย์ลดภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADRC) ในญี่ปุ่นและศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย
(ADPC) ของไทย
ได้หารือร่วมกันจนใกล้ได้ข้อสรุปในการจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการอุทกภัยร่วมกัน
ด้วยการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูลและแลกเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์
โดยนายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือเหล่านี้จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ซึ่งสำหรับความสนใจของญี่ปุ่นในการเข้ามาลงทุนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแนะนำระบบบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีระดับสูงและระบบการจัดการฟื้นฟูภัยพิบัติแก่ไทย
ด้านการค้าการลงทุน อาเซียนและญี่ปุ่น
มีความสัมพันธ์อันดีในด้านการค้าการลงทุนมาเป็นเวลายาวนาน
ทั้งยังมีการจัดตั้งความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) และแผนยุทธศาสตร์ร่วมมือเศรษฐกิจ 10 ปี
ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น
ซึ่งจะมีส่วนอย่างยิ่งในการรับมือกับความท้าทายด้านการค้าการลงทุน
รวมถึงการสร้างโอกาสในการลงทุนใหม่ๆให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กด้วย
และเพื่อเป็นการฉลองความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ครบรอบ 40 ปี ไทยมีความยินดีที่ญี่ปุ่นรับเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น
(ASEAN-Japan Commemorative) ในปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
หลังนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่นแล้ว
ยังได้ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลีใต้ ที่จะเร่งผลักดันคณะทำงานด้านความเชื่อมโยง
รวมทั้ง ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ
การประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) สมัยพิเศษ
จะหารือด้านการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน
ผ่านมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (CMIM) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร
การศึกษาการจัดตั้ง East Asia
Economics Community ภายในปี 2020
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย
เร่งสรุปผลการเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าบริการและการลงทุน
และเร่งรัดการสร้างทางหลวงสามฝ่าย (ไทย พม่า อินเดีย) จากนั้น
มีกำหนดพบหารือทวิภาคี กับ นายเต็งเส่ง ประธานาธิบดี สหภาพเมียนมาร์
เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาเรือน้ำลึกทวาย
เพื่อช่วยชาวพม่าลดช่องว่างด้านการพัฒนาและส่งเสริมความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค
นอกจากนี้ ยังมีการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย
ผลักดันความเชื่อมโยงระหว่างกันโดยการพัฒนาทางหลวงสามฝ่าย ไทย พม่า อินเดีย
และส่งเสริมความร่วมมือจากความก้าวหน้าของอินเดีย อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การแพทย์และการศึกษา และต่อด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน
จีน ครั้งที่ 15
ที่อาเซียนพร้อมสนับสนุนบทบาทจีนในอาเซียน การหารือทวิภาคี
ระว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับนางจูเลีย ไอลีน กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และช่วงเย็น เวลาประมาณ 18.20 น.จะเข้าร่วมประชุมผู้นำอาเซียน -สหรัฐ
โดยหารือความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงมนุษย์
ภัยพิบัติ เชื่อมโยงด้านไอซีที สาธารณสุข การศึกษา และพลังงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น