ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานข่าวจากที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.)
แจ้งว่า ที่ประชุมใช้เวลาหารือวาระต่างๆที่นำเข้าที่ประชุมจำนวนมาก
แต่วาระหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งครม.ตีกลับไปให้คณะกรรมการเงินเดือนแห่งชาติ , สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(กพร.) กระทรวงการคลังและคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาและศึกษาใหม่คือ
วาระที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เสนอขออนุมัติเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งและอื่นๆให้กับประธานและรองประธานกรรมการ กสทช.
รวมทั้งกรรมการ กสทช. โดยตำแหน่งประธานกรรมการ มีอัตราค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน
เฉลี่ยเดือนละเกือบ 398,300 บาท ส่วนรองประธานและกรรมการ
มีอัตราค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนๆละ 394,200บาท โดยอัตราที่กสทช.เสนอขึ้นมานั้น นายอำพน
กิตติอำพน เลขาธิการครม.ชี้แจงว่า กสทช.มีที่มาจาก กทช. โดยกทช.มีอัตราการเหมาจ่ายในระดับเดียวกัน
ฉะนั้นจึงเสนอให้ครม.พิจารณาว่าจะอนุมัติตามที่กสทช.เสนอมา
หรือจะนำไปศึกษาก่อนแล้วอนุมัติในภายหลัง
รายงานข่าวกล่าวว่า ครม.หลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับ
ข้อเสนอของกสทช.
โดยอ้างว่ากรณีนี้มีความเลื่อมล้ำกับองค์กรอื่นๆมาก
หากนำมาเทียบกับองค์กรที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
รวมทั้งจัดกลุ่มฐานเงินเดือนขององค์กรอิสระประเภทต่างๆเข้ามาด้วย ซึ่งกรณีนี้ครม.หารือกันโดยใช้เวลานาน
และแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะหากครม.อนุมัติ
องค์กรอื่นๆก็จะยื่นขออนุมัติปรับขึ้นเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งและอื่นๆตามมาแน่นอน
ครม.หลายคน เช่น นายณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ , นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกฯและรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา , นายวิทยา บูรณศิริ
รมว.สาธารณสุข
โดยเฉพาะนายปลอดประสพ สุรัสวดี
สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กล่าวในที่ประชุมครม.ว่าหากประธานกสทช. จะเทียบฐานะเงินเดือนของตัวเอง
โดยอ้างอิงกับฐานเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี
ที่รวมกันแล้วได้รับเงินหนึ่งแสนกว่าบาทนั้น
จะนำมาเทียบกันไม่ได้
ประธานกสทช.ควรเทียบกับปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรี ไม่ใช่นำมาเทียบกับนายกฯ
ตนหมั่นไส้มากหากเงินเดือนประธานกสทช.มีมากกว่านายกฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น