วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงการบริหารจัดการน้ำ ความหวังสลายฝันร้ายน้ำท่วม


น้ำท่วมใหญ่ปี 54 เดือนตุลาคม จากปากชาวบ้านพบว่าน้ำท่วมปีนี้เริ่มขึ้น ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม จังหวัดอยุธยาเป็นเกาะเหตุการณ์น้ำท่วมจึงไม่ได้ทำให้ชาวบ้านตื่นตระหนก เพราะปัญหาน้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี โดยปกติทางเทศบาลจะมีกำแพงดินกั้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาในเมืองได้ และชาวบ้านส่วนใหญ่เตรียมตัวขนย้ายข้าวของตามปกติ แต่ในปี 54 ที่ผ่านมา วันที่ 8 ตุลาคม กระแสน้ำไหลผ่านคลองมะขามเรียง น้ำจึงขึ้นมาตามท่อระบาย ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกระแสน้ำทำให้กำแพงดินกั้นน้ำของเทศบาลพังทลาย และน้ำไหลเข้าสู่ตัวเมืองโดยใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้นน้ำก็ท่วมสูงสุดถึง 2 เมตร ชาวบ้านไม่เคยคิดว่าน้ำเข้ามาในกลางเมืองได้รวดเร็ว และมากมายถึงขนาดนี้ แย่ไปกว่านั้นคือถูกตัดขาดจากสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า อาหาร และน้ำดื่ม จากเหตุการณ์ครั้งนี้ชาวบ้านไม่ทันได้เตรียมตัวจึงทำให้หลายครัวเรือนต้องย้ายที่พำนักพักพิงเพื่อหนีเอาชีวิตรอด โบราณสถานที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอยุธยาก็สูญไปกับกระแสน้ำที่เกิดขึ้นในปี 54 นั่นเอง

ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมชาวบ้านมีความเห็นว่า รัฐบาลทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้ว แต่น้ำที่มาในปี 54 นั้นมีมากเลยทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ชาวบ้านอยากให้กรมชลประทาน และส่วนของหน่วยงานภาครัฐควรร่วมกันเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอาจจะแก้ไขได้ดีขึ้น จากมหาอุทกภัยที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ประมาณความเสียหาย 1.44 ล้านล้านบาท รัฐบาลจึงขอเพื่อแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยเน้นโครงการระบายน้ำ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ทุกขั้นตอนการประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ เป็นไปอย่างโปร่งใส นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น: