รัฐมนตรี ชัชชาติ สิทธิพันธ์ |
วันที่ 10 มกราคม 2556 (go6TV) หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจได้นำเสนอบทสัมภาษณ์พิเศษ
รมต.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ถึงโครงงการของรัฐบาลในการพลิกโฉมประเทศไทย
สร้างความมั่นคงด้านการค้าจากทุกประตูการค้าทุกด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
“เป้าหมายของรัฐบาลเพื่อไทยในการออก พ.ร.ก.เงินกู้ ภายใต้กรอบวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท
เพื่อวางรากฐานของประเทศให้มั่นคงในอนาคต
โดย เฉพาะการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ที่รัฐบาลคาดหวังจะเปลี่ยนประเทศกลายเป็นโฉมใหม่เท่าเทียมกับต่างประเทศ
และเตรียมความพร้อมประตูการค้าทุกด้าน เพื่อรับการเปิดเออีซี ในปี 2558
งาน นี้ "กระทรวงคมนาคม" รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลัก
คอยเฟ้นโครงการจัดลงบัญชีลงทุนก่อสร้างแต่ละปีให้เห็นผลเป็นรูปธรรม นับจากปี 2556-2563
เพราะกุมเม็ดเงินลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท
"ชัช ชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดใจกับ
"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า
เม็ดเงินที่รัฐบาลกำลังจะลงทุนจะช่วยฟื้นฟูและเปลี่ยนประเทศให้ยั่งยืนใน อนาคต
ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาต่าง ๆ ที่จะตามมา เช่น การพัฒนาเมืองใหม่
ๆ ที่มาพร้อมการก่อสร้างรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง
"ภาระหนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะอยู่ในกรอบที่ควบคุมได้
แต่พลังงานที่สูญเสียไปแต่ละปีมันมากกว่า
ผลตอบรับกับประเทศกลุ่มอาเซียนดีมากเมื่อรู้ว่าเราจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้น ฐาน 2 ล้านล้านบาท เพราะต่อไปจะเปิดการค้าเสรีแล้ว" คำกล่าวย้ำ
แต่ สิ่งสำคัญคือ...ประเทศไทยจะเปลี่ยนโหมดการขนส่งจาก
"ถนน" มาสู่ "ราง" มากขึ้น จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์
ปัจจุบันประเทศใช้พลังงานในการขนส่งประมาณ 7 แสนล้านบาท/ปี
ถ้าประหยัดได้ปีละ 10% ใช้เวลาไม่กี่ปีจะคุ้มทุนแล้ว
"จะลดต้นทุน ได้เท่าไหร่พูดยาก แต่โหมดการขนส่งสินค้าเปลี่ยนแน่นอน
ตอนนี้เราขนส่งทางถนน 86% ต่อไปเราจะพึ่งทางรางมากขึ้น
มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง
ที่จะช่วยขนสินค้าและคนได้ปริมาณที่มากและตรงเวลามากขึ้น เป้า 5 ปีขนส่งทางรางจะเพิ่มจาก 2% เป็น 5% "
ทั้งนี้ "รถไฟความเร็วสูง"
หรือไฮสปีดเทรนที่รัฐบาลกำลังเร่งลงทุนในปี 2556 "ชัชชาติ"
บอกว่า ไม่ใช่แค่รถไฟแต่เป็นอะไรมากกว่านั้น และเปลี่ยนประเทศไทยในอนาคตได้
สมกับสโลแกนที่ว่า It"s not just a train, It"s the future
"ไม่ใช่แค่รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูง 250
กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในแนวเส้นทางจะมีการเติบโตขึ้นอีกมากเป็นเมืองใหม่มารองรับ
เมืองจะขยายตัวไปหัวเมืองใหญ่ ๆ มากขึ้น เช่น โคราชใช้เวลาเดินทางแค่ 1 ชั่วโมงครึ่ง เช่นเดียวกับหัวหินและพัทยา"
นอกจากนี้ ธุรกิจการค้าจะเติบโตตามมา
พร้อมกับการขยายตัวของคนและเมืองที่จะเปลี่ยนโหมดการอยู่อาศัยตามแนวเส้นทาง รถไฟ
ทำให้การขนส่งสินค้าต่อไปจะมีต้นทุนถูกลง ตรงเวลา และรวดเร็วขึ้น
โดยรถไฟความเร็วสูงจะขนสินค้าได้ 100 เมตริกตัน/ขบวน
โดยเฉพาะสินค้า เกษตร เช่น ผัก ผลไม้ที่เน่าเสียง่าย
เดิมขนส่งทางรถมีอัตราการเน่าเสียเฉลี่ย 17-35%
เพราะแนวเส้นทางจะมีคลังสินค้าี่รองรับ้ใกล้กับสถานี
การขนส่งสินค้าไปประเทศเพื่อนบ้านสะดวกรวดเร็วขึ้น
เพราะโครงข่ายจะเชื่อมกับสปป.ลาวที่เวียงจันทน์ ทะลุไปเวียดนามและจีนได้
อีก
ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและยกระดับสินค้าโอท็อป เช่น
นำผ้าพื้นเมืองมาบุผนังเบาะนั่ง เป็นต้น รวมถึงเพิ่มรายได้จากการนำสินค้ามาสร้างแบรนด์ขายบนรถไฟได้
เช่น ข้าวเบนโตะของแต่ละภาค
และเพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้น
"รมว.ชัชชาติ" บอกว่า อย่างแรกที่ต้องเร่งทำนับจากนี้คือ จะยกเครื่อง
"ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ครั้งใหญ่ในรอบ 115 ปี หลังพบว่ามีปัญหาเรื้อรัง
พร้อมภาระหนี้ร่วม 1 แสนล้านบาท
เพื่อเป็นองค์กรเดินหน้าก้าวสู่สิ่งใหม่ ๆ
"ปัจจุบันรถไฟลดบทบาทลง ไปมากในชีวิตคนไทย มีคนใช้บริการขนส่งสินค้าแค่ 2% ผู้โดยสารก็ลดลงมาก ถ้าไม่ปรับอนาคตจะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ
ไม่ได้"
แผนบริหารจัดการ คือ จะต้องเร่งการลงทุน 1.76
แสนล้านบาทโดยเร็ว เพื่อเปลี่ยนด้านกายภาพ เช่น ซื้อหัวรถจักรและรถโดยสารใหม่
สร้างทางคู่ ฯลฯ เพื่อปรับโฉมการบริการให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
พร้อมกับเข้าไปดู "ด้านบุคลากร" ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1 หมื่นคน
ส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุที่ทำงานและอยู่ที่นี่มานาน ต้องจัดสรรคนให้เหมาะกับงาน
ถ้าหากต้องลดไซซ์องค์กรก็ต้องทำ เพราะจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคต
เรื่องบำเหน็จบำนาญที่นับว่าเป็นภาระผูกพันของคนรถไฟมานาน
นโยบาย การปรับลุกของ ร.ฟ.ท.ครั้งนี้
เป็นการเตรียมความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
หลังรัฐบาลลงทุนรถไฟความเร็วสูง
รถไฟทางคู่ที่จะเชื่อมโยงการเดินทางในภูมิภาคนี้แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น