วันที่ 15 มกราคม (go6TV) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นิตยสาร “การเงินธนาคาร” ฉบับเดือนมกราคม 2556
ได้เผยแพร่ บทสัมภาษณ์เชิงลึก
ผู้เกี่ยวข้องสำคัญกับอนาคตเศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ประกอบด้วย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
รองนายกรัฐมนตรีมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประสาร
ไตรรัตน์วรกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ในหัวข้อ “วาดภาพประเทศไทยปี 2556” ซึ่ง “ลม เปลี่ยนทิศ” คอลัมน์นิสต์ชื่อดังของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ได้นำมาเผยแพร่ ฉบับวันที่ 11 มกราคม 2556
พร้อมกับชื่นชมว่า “นานๆจะได้ยินผู้นำประเทศพูดถึงอนาคตประเทศชัดเจน
อย่างนี้สักที”
โดยสรุปนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
รัฐบาลจะพยายามสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง 4.5–5.5%
เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยรัฐบาลได้วางมาตรการให้มีผลต่อเนื่องและไม่ให้กระทบกับการสร้างภาระการคลังมากกว่าในอดีต
และรวมทั้งยังมีมาตรการในการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 20%
และเพิ่มกองทุนต่างๆที่จะสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการใหม่ๆ ในระยะยาววงเงิน 3
แสนล้านบาท, ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศ
โดยเฉพาะการลงทุนระบบราง, การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารของการรถไฟฯ,
การลงทุนในรถไฟความเร็วสูง, การลงทุนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
เชื่อมโครงการทวายกับอีสเทิร์นซีบอร์ด และการสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับภาคเอกชน
“ปี 2556
จะเป็นปีที่รัฐบาลจะวางรากฐานและขับเคลื่อนนโยบายระยะยาวมากขึ้น หลังจากเริ่มมาตรการเร่งด่วนหลังเลือกตั้งรัฐบาลจะหารือกับหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง จัดทำยุทธศาสตร์ประเทศ และ ขับเคลื่อนประเทศไทย
ไปสู่เป้าหมายระยะยาว เช่น
ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้
2
ล้านล้านบาท
ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา การเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาของประเทศเป็น 1%
ของจีดีพี และการทำโซนนิ่งภาคเกษตร”
โดยจะมีการวาง ยุทธศาสตร์ประเทศ ให้สมบูรณ์ทั้ง
3 เป้าหมายคือ 1. การรักษาการขยายตัวของเศรษฐกิจ และสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน
เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักของการเป็นประเทศรายได้ ปานกลาง (Middle Income
Trap) เข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ในอนาคต 2. การลดความเหลื่อมลํ้าและกระจายประโยชน์จากการพัฒนาให้ทั่วถึง (Inclusive Growth)
3. การพัฒนาอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และเป็นสังคมสีเขียว (Green Growth)
“ปี 2556 เป็นปีที่ดิฉันตั้งใจจะดำเนินมาตรการ
เพื่อบริหารจัดการความผันผวนระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้นและวางรากฐานของเศรษฐกิจในระยะยาวควบคู่กันไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น